ภาวะผู้นำ (Leadership skill) เป็นทักษะสำคัญที่องค์กรมองหาเพื่อให้คุณสามารถตั้งรับกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นมืออาชีพและได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งในและนอกองค์กร ทว่าทักษะดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีติดตัวแต่แรก แต่สามารถเพิ่มพูนได้ด้วยประสบการณ์การทำงาน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หากอยากมีภาวะผู้นำที่ดีจำเป็นต้องฝึกกันอย่างไร ? นี่คือ 7 วิธีเพิ่มภาวะผู้นำที่ดีที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่องค์กรต้องการ
Table of Contents
1. พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เป็นทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำอย่างมาก เพราะคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงมีโอกาสที่จะบริหารจัดการความคิดของตัวเองภายใต้ความกดดันได้ดี โดยไม่ทำลายบรรยากาศในการทำงาน และสามารถผลักดันทีมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้
ความฉลาดทางอารมณ์ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และสื่อสารกับลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทั้งในและนอกองค์กรทีเดียว
คุณสามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ได้ง่ายๆ ด้วยการจินตนาการว่าหากตนเองเป็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งเจอกับสถานการณ์ต่างๆ จะรู้สึกและแสดงออกอย่างไร หรือลองคิดว่าทำไมฝ่ายตรงข้ามถึงแสดงออกในรูปแบบนั้นๆ และสามารถศึกษาเชิงลึกด้วยการฟังพอตแคสต์ หรือลงเรียนคอร์สจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น
2. ฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่น
ในโลกของการทำงานจริงที่ผู้นำต้องกล้าเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ความยืดหยุ่นในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สามารถพาคุณออกนอกกรอบแนวคิดเดิมๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองมุมใหม่เพื่อเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การพลิกแพลงเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อแก้ไขปัญหา ไปจนถึงการปรับตัวเข้ากับทีมใหม่ การฝึกความคิดให้ยืดหยุ่นนั้นย่อมสนับสนุนให้คุณสามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายและลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นจนอาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้
วิธีฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นอย่างง่าย คือ การเลือกทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น ที่นอกจากจะช่วยให้คุณมีแนวความคิดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเข้าใจวิธีการคิดของผู้อื่นอีกด้วย
3. สังเกตและสร้างแรงบันดาลใจแบบภาวะผู้นำ
การสังเกตความสามารถของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนจะช่วยให้ทราบว่าใครมีความถนัดในเรื่องอะไรเป็นพิเศษทำให้สามารถ Put the right man on the right job ได้ นอกจากจะช่วยให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นแล้วยังเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ Performance ของทีมอีกด้วย
แน่นอนว่าการมอบหมายสิ่งต่างๆ ผ่านการสังเกตอาจไม่ได้รับความยินยอมจากคนในทีมเสมอไป ผู้ที่มีภาวะผู้นำจึงต้องมีส่วนในการสร้างแรงบันดาลในใจการทำสิ่งต่างๆ รวมถึงแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ทีมรับรู้
คุณอาจเริ่มสังเกตและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมจากการใส่ใจทำความรู้จักตัวตนของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น ลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่าง รวมไปถึงสนับสนุนการนำเสนอความคิดเห็นของพนักงานก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจว่าการแสดงออกในการทำงานไม่ใช่เรื่องผิด และพวกเขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยตนเอง
4. เข้าสังคมให้เป็น
การทำงานใหญ่ไม่สามารถลุล่วงได้ด้วยคนเดียว จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนมากมายซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย และผู้นำคือคนที่ต้องเชื่อมโยงทุกคนในทีมให้ร่วมมือกันเพื่อให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมถึงสามารถติดต่อพูดคุยกับลูกค้าเพื่อเจรจาต่อรองได้อย่างเหมาะสม
พื้นฐานของการเข้าสังคมที่คุณสามารถฝึกได้ทุกวันคือ การยิ้มและพยักหน้าตอบรับคู่สนทนา ซึ่งเป็นวิธีการแสดงออกว่าคุณกำลังตั้งใจทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารจริงๆ หลังจากนั้นค่อยดำเนินการขยับเป็นการเสวนาเรื่องต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น พร้อมกับควรสังเกตพฤติกรรมของคู่สนทนา เพื่อความเข้าใจเจตนาในการสื่อสารในวงธุรกิจ
5. จัดการเวลาตามลำดับความสำคัญ
การจัดการเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพคือเรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องมี โดยการนำทฤษฎีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้จะช่วยให้การจัดการเวลามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทฤษฎีโถแก้วแห่งชีวิต (Jar of Life) เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ โดยคุณสามารถฝึกการบริหารจัดการได้ด้วยการเรียบเรียงความสำคัญเปรียบกับก้อนหินใหญ่ กรวด และเม็ดทราย และใช้สิ่งเหล่านั้นเติมลงในโถ (เวลาในแต่ละวันของคุณ)
ซึ่งคุณต้องทำการใส่หินก้อนใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตเป็นอันดับแรก แล้วค่อยตามด้วยกรวดเล็กๆ ที่สำคัญรองลงมา และปิดท้ายด้วยการใส่ทรายซึ่งเป็นตัวแทนของเรื่องที่ไม่ค่อยสำคัญในชีวิตเพื่อให้ทุกนาทีของคุณถูกใช้ไปอย่างมีคุณค่าสูงสุด
6. ฝึกฝนการสื่อสาร
อีกหนึ่งทักษะสำคัญในการนำทีมให้ประสบความสำเร็จคือทักษะการสื่อสาร ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้คนอื่นๆ เข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ถูกกาลเทศะและไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดการเข้าใจในเจตนาที่ผิด โดยสามารถทำได้ทั้ง คำสั่ง คำถาม รวมถึงการพูดเชิงชี้นำ
คุณสามารถนำทักษะการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การจูงใจให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกมุ่งมั่นในการทำงานหรือการตำหนิพนักงานเมื่อทำผิดให้มีความไม่รู้สึกผิดใจกัน
การฝึกฝนการสื่อสารสามารถทำได้ด้วยการฝึกเรียบเรียงคำพูดให้กระชับ ได้ใจความ ใช้ความสุภาพเป็นหลัก เพื่อลดความเข้าใจผิดของคู่สนทนา อาจฝึกฝนเพิ่มเติมด้วยการสอบถามคนในทีมเกี่ยวกับวิธีการพูดและการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การสื่อสารต่างๆ ครบถ้วน และได้ใจของคนในทีมไปในเวลาเดียวกัน
7. เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
การไม่หยุดพัฒนาตนเองด้วยการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือการพัฒนาทักษะเดิมให้เชี่ยวชาญเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นอกจากจะช่วยให้คุณเก่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คุณเป็นตัวอย่างที่ดีของทีม ทำให้คุณสามารถรับมือกับกระแสของธุรกิจที่เปลี่ยนไปในทุกวันได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำกุญแจสู่ความสำเร็จที่ไม่เหมือนใครมาไว้ในมือคุณก็ได้
โดยคุณสามารถเริ่มต้นเรื่องนี้ได้ด้วยการลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่คุณสนใจ ฟังพอตแคสต์เพื่อพัฒนาตนเอง ไปจนถึงอ่านหนังสือหมวดที่คุณไม่เคยลิ้มลองมาก่อน จะช่วยให้คุณเข้าถึงสิ่งใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
สรุป
“ผู้นำ” ไม่ใช่เพียงแค่คำเรียกตำแหน่งหน้าที่แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมี วิสัยทัศน์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับองค์กร จึงสามารถกล่าวได้ว่าคนผู้นั้นมีภาวะผู้นำได้ ซึ่งนอกจากการพัฒนาตัวผู้นำองค์กรให้ดีแล้ว ก็ควรมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อให้ทุกคนสามารถดำเนินสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
True VWORK เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่ตอบสนองทุกการทำงานในยุคดิจิทัล ที่รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานไปจนถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ จะเป็นงานแบบไหนก็พร้อมใช้งาน โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK
อ้างอิง