ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy เกิดขึ้นจากการจ้างงานแบบเป็นครั้งคราวที่มากขึ้นในสังคมปัจจุบัน สอดคล้องกับทัศนคติการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูงของคนรุ่นใหม่เพื่ออิสระที่มากยิ่งขึ้น
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Mastercard พบว่า Gig Economy ทั่วโลกจะเติบโตจากราวๆ 204,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 7 ล้านล้านบาท) ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 455,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 16 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 ทำให้การจ้างงานแบบอิสระเป็นเทรนด์สำคัญของคนทำงานยุคใหม่ และนี่คือข้อมูลของ Gig Economy ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ
Table of Contents
รู้จักกับ Gig Economy
Gig Economy คือ ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดแรงงานเสรี ซึ่งมีผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เรียกว่า Gig Worker ที่รับจ้างทำงานจบเป็นงานๆ ไป โดยผู้รับจ้างส่วนใหญ่มักถูกเรียกว่าพนักงานพาร์ทไทม์หรือ Freelance แต่จริงๆ แล้วงานทั้งสองประเภทมีความแตกต่างที่มักถูกมองข้ามอยู่เล็กน้อย คือ
- Gig Worker เป็นเหมือนกับลูกจ้างชั่วคราวที่คอยทำงานให้กับแพลตฟอร์มตัวกลาง
- Freelance เป็นเหมือนกับบริษัทที่ต้องบริหารลูกค้าและหาลูกค้ามาเติมให้กับธุรกิจด้วยตัวเอง
ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Gig Economy ถูกสนับสนุนด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นผลให้บริษัทต่างๆ พยายามตัดค่าใช้จ่ายด้านผลประโยชน์ของพนักงานออก บวกกับสภาวะการทำงานในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วและยืดหยุ่น หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างแพลตฟอร์มตัวกลางต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จ้างและคนทำงานเข้าด้วยกัน เช่น Uber, Airbnb และ Fiverr เป็นต้น
ทำไมต้อง Gig Economy
1. ช่วยธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่าย
Kelly Services พบว่า 43% ของบริษัทที่จ้างงาน Gig Worker แทนการจ้างงานพนักงานประจำสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงานได้ถึง 20% ในขณะที่การจ้างงานแบบเดิมๆ อาจสิ้นเปลืองมากกว่าถึง 30-40% ด้วยค่าใช้จ่ายระยะยาวอย่างผลประโยชน์พนักงาน ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการ ประกันสุขภาพหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่างๆ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวน Gig Worker ยังทำให้ธุรกิจมีอำนาจต่อรองในการจ้างแรงงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
2. ยืดหยุ่นยิ่งกว่า
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของคนทำงานหรือผู้จ้างงาน Gig Economy จะช่วยให้การทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะ Gig Worker สามารถรับงานจำนวนไม่จำกัดในตารางเวลาที่ต้องการได้อย่างอิสระ เพียงแค่ต้องส่งงานให้ได้ในกำหนดระยะเวลาของภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาเท่านั้น และหากไม่พอใจกับงานที่ทำก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานอื่นได้ทันทีเมื่อจบงาน ส่วนด้านผู้จ้างก็สามารถเปลี่ยน Gig Worker ให้เหมาะกับแต่ละโปรเจกต์ซึ่งมีความท้าทายแตกต่างกันได้อย่างอิสระ และหากผลงานของ Gig Worker ที่เคยจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจก็สามารถเปลี่ยนคนทำงานได้ในเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน
3. ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น
แต่ละโปรเจกต์ต่างมีความต้องการในความสามารถเฉพาะทางของผู้ทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งการจ้างงานแบบอิสระก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เพราะบริษัทสามารถเลือกจ้าง Gig Worker ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะกับความต้องการของแต่ละโปรเจกต์ได้ ซึ่งแตกต่างไปจากการจ้างงานแบบประจำที่ต้องมอบหมายงานให้กับพนักงานที่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับการทำงานมากนัก
ความท้าทายที่องค์กรต้องใส่ใจ
1. การจัดทรัพยากรบุคคลที่ยากขึ้น
การจ้างพนักงานชั่วคราวทำให้ผู้จ้างงานต้องแบกรับความท้าทายในการจัดหาทรัพยากรบุคคลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถจัดหาพนักงานที่เหมาะสมให้ได้จำนวนเพียงพอต่อประมาณงานภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด นอกจากนี้การผลัดเปลี่ยนพนักงานในบริษัทไปเรื่อยๆ ยังส่งผลเสียต่อการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย
2. กฎหมายยังไม่ครอบคลุม
กฎหมายการจ้างงานชั่วคราวในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดในนโยบาย ผลประโยชน์ สิทธิ และการคุ้มครองของผู้ทำงานอิสระที่ชัดเจน ส่งผลให้ Gig worker อาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงในทางการเงินจนต้องรับงานปริมาณมากและไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรจึงจำเป็นต้องกำหนดจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของบริษัทและพนักงานที่เหมาะสมด้วยตนเอง
สรุป
ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มว่า Gig Economy จะมีการเติบโตที่น่าจับตามองอย่างมาก ทว่ายังมีข้อจำกัดอีกพอสมควรในการทำงานระยะยาว โดยหนึ่งในสิ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวคือเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ทั้งกับคนในองค์กรและ Gig Worker
True VWORK จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะกับการทำงานที่มีอิสระอย่าง Gig Economy เพราะ VWORK รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานจนไปถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ ทำให้การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและครบครัน! โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK
อ้างอิง